สนใจ สั่งซื้อ หรือจ้างผลิต หมวกเซฟตี้ HDPE มอก. เริ่มต้น 80 บาท รองเท้าเซฟตี้ เข็มขัดพยุงหลัง ติดต่อ Hotline :0819199926 / Line: 9111464 Mail: mk-rts@hotmail.com

มอก.

ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ มี พ ร ะ ร า ช ก ฤ ษ ฎี ก า กำ ห น ด
ใ ห้ ต้ อ ง เ ป็ น ไ ป ต า ม ม า ต ร ฐ า น



มอก. 368-2538 : หมวกนิรภัยสำหรับงานอุตสาหกรรม
ที่ หน่วยตรวจสอบ รายการที่ตรวจสอบไม่ได้ ระยะเวลาตรวจสอบ(วัน)
1 กรมวิทยาศาสตร์บริการ - 40
2 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ระยะห่างระหว่างยอดหมวกด้านในกับรองในหมวก,ความต้านทานการกระแทก,ความต้านทานการเจาะ *
3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ระยะห่างระหว่างยอดหมวกด้านในกับรองในหมวก,ความต้านทานการกระแทก,ความต้านทานการเจาะความคงรูปตามขวาง 3
4 การไฟฟ้านครหลวง ทดสอบได้เฉพาะรายการความต้านทานของฉนวน 1
5 สถาบันยานยนต์* ทดสอบได้เฉพาะรายการ ดังต่อไปนี้
หมวกนิรภัยต้องมีสายรัดศีรษะที่สามารถปรับเส้นรอบวงได้ 13 ขนาด
ทั่วไป
เปลือกหมวก
สายรัดศีรษะ
แถบซับเหงื่อ
แถบรองหมวก
รองใน
สายรัดคางและสายรัดหลังศีรษะ
อุปกรณ์ประกอบ
ซับในกันหนาว
ที่ยึดไฟฉายหน้าหมวก
วัสดุ
การทำ
ลักษณะทั่วไป
มวล (ไม่รวมอุปกรณ์ประกอบ)
ความทนแรงกระแทก
ความต้านทานการเจาะ
การดูดซึมน้ำ
7
6 สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์* ทดสอบได้เฉพาะรายการ
ข้อ 6.3 ความต้านทานของฉนวน (เฉพาะชั้นคุณภาพ A และชั้นคุณภาพ B)
*
มอก. 368-2554 : หมวกนิรภัยสำหรับงานอุตสาหกรรม
ที่ หน่วยตรวจสอบ รายการที่ตรวจสอบไม่ได้ ระยะเวลาตรวจสอบ(วัน)
1 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย โดยศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา (ห้องปฏิบัติการทดสอบทางฟิสิกส์)
***ได้รับการแต่งตั้งถึงวันที่ 11 กรกฎาคม 2558
ทดสอบได้เฉพาะรายการ
ข้อ 4.1 ลักษณะทั่วไป
ข้อ 5.2 มวล
ข้อ 5.6 ความต้านทานของฉนวน
ข้อ 5.6.2 หมวกนิรภัยชนิด G
ข้อ 5.7 สายรัดคาง
ข้อ 5.8 สายรัดศีรษะ
ข้อ 6 การบรรจุ
*
2 สถาบันยานยนต์
***ได้รับการแต่งตั้งถึงวันที่ 23 กันยายน 2558
ทดสอบได้เฉพาะรายการ
ข้อ 5.1 ลักษณะทั่วไป
ข้อ 5.2 มวล
ข้อ 5.3 การลุกไหม้
ข้อ 5.4 แรงส่งผ่าน
ข้อ 5.5 ความต้านทานการเจาะทะลุจากด้านบน
ข้อ 5.7 สายรัดคาง
ข้อ 5.8 สายรัดศีรษะ
ข้อ 6. การบรรจุ
ข้อ 7. เครื่องหมายและฉลาก

* หมายถึง ผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ได้รับการแต่งตั้งเนื่องจากเป็นไปตามข้อกำหนดของ ภาคผนวก ก ของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการแต่งตั้งผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
** หมายถึง ผู้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรมที่ได้รับการแต่งตั้งเนื่องจากได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการตาม มอก.17025
- หมายถึง ตรวจสอบได้ทุกรายการ
หมายเหตุ :ข้อมูลประกาศแต่งตั้งหน่วยตรวจถึง ฉบับที่ 6/2556 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2556

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2557









1 ความคิดเห็น:

icppremium กล่าวว่า...


ประเภทหมวกนิรภัยตาม ANSI Standard Z89.1-2003

ขอบเขตและการใช้งาน
มาตรฐานนี้อธิบายถึงประเภทและระดับของหมวกนิรภัย การทดสอบและความต้องการด้านประสิทธิภาพของหมวก รวมถึงความต้องการด้านความปลอดภัยต่างๆ โดยความต้องการด้านประสิทธิภาพพื้นฐานจะถูกกำหนดด้วย การป้องกันจากการกระแทก การเจาะ และการกันไฟฟ้า ซึ่งเป็นเพียงการลดแรงเท่านั้น ไม่ใช่ให้สามารถกันได้อย่างสมบูรณ์จากการกระแทกอย่างรุนแรง หมวกนิรภัยควรจะสามารถทนได้ต่อการตกใส่ของเครื่องมือเล็กๆ น็อต สกรู ชิ้นส่วนของไม้ เป็นต้น

ประเภทของหมวกนิรภัย
ตามมาตรฐาน ANSI Z89.1-2003 แบ่งหมวกนิรภัยออกได้ตามลักษณะของการกันกระแทก และการกันไฟฟ้า

โดยทั่วไปหมวกนิรภัยควรจะกันกระแทกได้ในแบบประเภท 1 หรือไม่ก็ประเภทที่ 2

หมวกนิรภัย ประเภทที่ 1
หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกจากด้านบน แต่ไม่ออกแบบสำหรับกันกระแทกจาก้านข้าง


หมวกนิรภัย ประเภทที่ 2
หมวกนิรภัยประเภทนี้จะถูกออกแบบให้สามารถกันกระแทกได้ทั้งจากด้านบนและด้านข้าง

หมวกนิรภัย ประเภทที่ E
ตัว E ย่อมาจาก Electrical ดังนั้นหมวกนิรภัยประเภทนี้จึงออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าได้ดี โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่าง)

หมวกนิรภัย ประเภทที่ G
ตัว G ย่อมาจาก General หมวกนิรภัยประเภทนี้จะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์
หมวกนิรภัย ประเภทที่ C
ตัว C ย่อมาจาก Conductive หมวกนิรภัยประเภทนี้ไม่กันไฟฟ้า และไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า
การระบุเครื่องหมาย
หมวกนิรภัยควรจะมีชื่อ หรือสัญลักษณ์ของผู้ผลิต วันที่ผลิต เครื่องหมายมาตรฐาน ANSI และขนาดหมวก

การทดสอบประสิทธิภาพหมวก ตาม ANSI Z89.2003
ประสิทธิภาพ
การทดสอบหมวกนิรภัย
การกันไฟ
Flammability
ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัยประเภทที่ 1 และ 2
ที่ตั้งหมวกจะต้องทำให้หมวกมีลักษณะเหมือนในการสวมใส่จริง
พ่นไฟเป็นเวลา 5 วินาทีที่อุณหภูมิ 800 - 900º C (1472º - 1652º F) บริเวณด้านนอกของหมวก
หมวกนิรภัยไม่ควรมีร่องรอยของการไหม้หลังจากการทดสอบ
การกันกระแทก
Force Transmission
(Impact)

ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัยประเภทที่ 1 และ 2
ทดสอบหมวกในสภาพอากาศเย็น 12 ประเภทและสภาพอากาศร้อน12 ประเภท เพื่อทดสอบการกระแทกที่ความเร็ว ณ จุดกระทบ 5.5เมตร/วินาที โดยวัตถุที่ตกกระทบควรมีน้ำหนัก 3.6 กิโลกรัม
ค่าที่เกิดจาการทดสอบ และค่าเฉลี่ยจากสภาพการทดสอบทั้ง 24แบบจะต้องมีการบันทึกพร้อมกับความเร็วการตกกระทบ
ค่าเฉลี่ยของแรงที่ส่งผ่านตัวหมวกไม่ควรเกิน 3780 N
การเจาะทะลุ
Apex Penetration
ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัยประเภทที่ 1 และ 2
การทดสอบจะต้องทำให้หมวกมีลักษณะเหมือนในการสวมใส่จริง
วัตถุที่จะมาเจาะหมวกจะต้องพุ่งมาในบริเวณเส้นรอบวง ไม่เกินรัศมี 75 mm (3.0 in) จากกึ่งกลางหมวก
วัตถุที่จะมาเจาะหมวกต้องมีน้ำหนัก 1.0 กิโลกรัม ตกจากความสูงที่จะทำให้เกิดความเร็ว ณ จุดกระทบ 7.0 เมตร/วินาที
วัตถุที่มาเจาะไม่ควรที่จะติดกับเนื้อหมวก ไม่ว่าจะในสภาพใดก็ตาม
การกันไฟฟ้า
ทดสอบสำหรับทั้งหมวกนิรภัยประเภทที่ 1 และ 2
หมวกนิรภัยประเภท E ออกแบบเพื่อให้สามารถกันอันตรายจากไฟฟ้าได้ โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 20,000 โวลต์ โดยหมวกจะถูกทดสอบการกันกระแทกก่อน แล้วทดสอบการกันไฟฟ้าที่ 20,000 โวลต์ เป็นเวลา 3 นาทีที่9 มิลลิแอมป์ว่าไม่มีการรั่วเข้าในหมวก แล้วทดสอบที่ 30,000 โวลต์เพื่อดูว่าไม่มีรอยไหม้หรือไม่
หมวกนิรภัยประเภท G ออกแบบเพื่อให้สามารถกันไฟฟ้าแบบอ่อนได้ โดยจะต้องผ่านทดสอบการกันไฟฟ้าได้ที่ 2,200 โวลต์ โดยหมวกจะถูกทดสอบ เป็นเวลา 1 นาทีที่3 มิลลิแอมป์ว่าไม่มีการรั่วเข้าในหมวก
หมวกนิรภัยประเภท C ไม่มีการทดสอบการกันไฟฟ้า
การดูดซับพลังงานการกระแทก
Impact Energy Attenuation
ทดสอบสำหรับเฉพาะหมวกนิรภัยประเภทที่ 2

การเจาะทะลุนอกหนือจากศูนย์กลางหมวก
Off center penetration
ทดสอบสำหรับเฉพาะหมวกนิรภัยประเภทที่ 2

การคืนตัวของรองในหมวก
Chin strap retention
ทดสอบสำหรับเฉพาะหมวกนิรภัยประเภทที่ 2

.