สนใจ สั่งซื้อ หรือจ้างผลิต หมวกเซฟตี้ HDPE มอก. เริ่มต้น 80 บาท รองเท้าเซฟตี้ เข็มขัดพยุงหลัง ติดต่อ Hotline :0819199926 / Line: 9111464 Mail: mk-rts@hotmail.com

วันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555

หมวกนิรภัย หมวกันน๊อค

รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่มีผู้นิยมใช้กันมาก เนื่องจากมีความคล่องตัวในการใช้งาน และใช้ได้ในทุกสภาพถนน แต่อันตรายจากอุบัติภัยรถจักรยานยนต์ก็มีสูงมากเช่นกัน กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ สวมหมวกนิรภัย เพื่อลดความรุนแรงจากอันตรายที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะได้เป็นอย่างดีเมื่อเกิดอุบัติภัย จากสถิติอุบัติภัยรถจักรยานยนต์ และผลการวิจัยปรากฏว่าหมวกนิรภัยช่วยลดอัตราการตาย เนื่องจากการบาดเจ็บในสมองของผู้ใช้รถจักรยานยนต์ลงได้ถึง 2 เท่า และลดจำนวนผู้บาดเจ็บสาหัสทางสมองลงได้
ถึง 3 เท่า

1. หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ
หรือครึ่งศีรษะเปลือกหมวกเป็นรูปทรงครึ่งวงกลมปิดด้านข้างและด้านหลัง เสมอระดับหู บังลมทำจากวัสดุโปร่งใสไม่มีสี และมีสายรัดคาง ช่วยป้องกันศีรษะส่วนบน
2. หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ
หรือเต็มศีรษะดัดแปลงมาจากชนิดที่ 1 ตัวหมวกจะยื่นต่ำลงมาถึงท้ายทอย เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลม ปิดด้านข้าง และด้านหลังเสมอแนวขากรรไกร และต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดตั้งแต่เหนือคิ้วลงมาตลอดถึงปลายคาง มีบังลมและสายรัดคาง ช่วยป้องกันส่วนบนของศีรษะ ท้ายทอย และบริเวณขากรรไกร

3. หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้าเปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมเปิดช่องหน้าตรงตำแหน่งตา ปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกร และคาง บังลมทำจากวัสดุโปร่งใสไม่มีสี ช่วยป้องกันส่วนบนของศีรษะ ท้ายทอย บริเวณปาก และคางด้านหน้า
การเลือกซื้อหมวกนิรภัย
  1. เลือกซื้อหมวกนิรภัยที่มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสากรรม (มอก.)
  2. ควรเลือกหมวกนิรภัยที่มีน้ำหนักเบา หมวกนิรภัยที่ดีควรมีน้ำหนักประมาณ 3 ปอนด์ หรือไม่เกิน 1.5 กิโลกรัม และมีสีสดเพื่อให้สังเกตเห็นได้ง่าย หรือใช้สีตามที่หน่วยงานกำหนด
  3. ควรใช้หมวกนิรภัยแบบเต็มหน้า เพราะสามารถช่วยลดการบาดเจ็บบริเวณใบหน้า และคางได้
  4. ก่อนซื้อหมวกนิรภัย ควรทดสอบโดยการสวมหมวกนิรภัยแล้วคาดสายรัดคางให้แน่น จากนั้นทดสอบโดยการผลักตัวหมวกนิรภัยไปทางด้านหน้า และด้านหลัง ถ้าขอบหมวกนิรภัยทางด้านหลังเลื่อนขึ้นไปจนถึงกลางศีรษะ หรือมากกว่านั้น ควรเปลี่ยนขนาดของหมวกนิรภัยทันที
  5. เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกหมวกนิรภัยที่มีขนาดพอดีกับศีรษะของผู้สวมใส่
  6. ควรรัดสายรัดคางให้แน่นทุกครั้งที่สวมใส่หมวกนิรภัย
  7. อย่าสวมหมวกนิรภัยให้หงายไปทางด้านหลัง
  8. ตรวจแผ่นบังลมหน้าของหมวกนิรภัยก่อนใช้ทุกครั้ง หากพบว่าน๊อตหลวมควรหมุนให้แน่นเสมอ
  9. ไม่ควรใช้หมวกนิรภัยที่เคยผ่านการกระแทก หรือเกิดอุบัติเหตุมาแล้ว แม้ว่าจะไม่สามารถเห็นความเสียหายบนผิวหมวกนิรภัยได้
  10. อย่าเปลี่ยนแปลง หรือตบแต่งหมวกนิรภัย และสายรัดคาง
  11. หมั่นดูแลรักษาหมวกนิรภัยให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างดี
  12. ควรเปลี่ยนแผ่นบังลมหน้าหมวกนิรภัยใหม่ หากมีรอยขูดขีดมาก หรือชำรุด
  13. อย่าใช้น้ำร้อน น้ำเค็ม เบนซิน ทินเนอร์ หรือน้ำยาทำความสะอาดที่ออกฤทธิ์เป็นกด หรือด่างมากในการทำความสะอาด รองในหมวกให้ใช้ผ้าชุบน้ำสะอาดบิดให้แห้ง ทำความสะอาดหมวกทั้งด้านใน และด้านนอก แล้วนำไปผึ่งแดดให้แห้ง
  14. ควรเปลี่ยนหมวกนิรภัยใหม่ทุก 3 – 5 ปี เพราะเมื่อมีการเสื่อมอายุ การใช้งาน จะไม่สามารถปกป้องศีรษะได้ หรือหากเป็นหมวกนิรภัยที่เคยได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุมาแล้ว ควรเปลี่ยนหมวกนิรภัยใหม่เช่นกัน
นอกจากการสวมหมวกนิรภัย เพื่อลดความเสี่ยงต่อความพิการทางสมอง และการตายจากอุบัติภัยแล้ว การขับขี่โดยไม่ประมาทก็เป็นหนทางที่จะเพิ่มความปลอดภัยให้ชีวิตได้อย่างดีเยี่ยม



ข้อมูลโดย : ศกบ.กนอ.



พลาสติกเป็นวัสดุที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากความสะดวกในการใช้ ราคาไม่แพง น้ำหนักเบา และสามารถทำให้เป็นรูปร่างต่าง ๆ เช่น ฟิล์ม หรือไฟเบอร์ ได้ พลาสติกเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของมนุษย์โดยเป็นวัสดุสำหรับการผลิตของ เล่น ภาชนะใส่อาหาร เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เลนส์ ส่วนประกอบในสายไฟ ท่อน้ำ อุปกรณ์ประกอบในรถยนต์ สารเคลือบภายในกระป๋องหรือกล่องบรรจุอาหาร เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันความรู้เชิงวิทยาศาสตร์ ความปลอดภัย และการบังคับควบคุมการใช้พลาสติก ยังไม่ทันสมัยเพียงพอ

สารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของพลาสติกสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำซึ่งบรรจุในภาชนะพลาสติก ดมกลิ่นสิ่งที่อยู่ในพลาสติก นั่งหรือสวมใส่สิ่งที่ผลิตจากพลาสติก คณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) จัดพลาสติกเป็นสารเติมแต่งอาหารทางอ้อม (Indirect Food Additives) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าองค์ประกอบของพลาสติกสามารถเข้าสู่อาหารได้ ดร.จอร์จ พอลิ จาก FDA กล่าวว่า พลาสติกทุกชนิดให้ชีวพิษ (toxin) เข้าสู่อาหารที่สัมผัสกับพลาสติกนั้นพลาสติกเป็นพอลิเมอร์ที่ได้จากการโพลิเมอไรเซชั่น ของโมโนเมอร์ภายใต้ความร้อน และความดันสูง ในการผลิตจะต้องมีสารเติมแต่งหลายชนิด ได้แก่ พลาสติกไซเซอร์ (plasticizer) ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น สารกรองยูวี (UV filter) ป้องกันแสง สารต้านไฟฟ้าสถิต สารต้านการติดไฟ สี สารต้านการเกิดออกซิเดชั่น โลหะหนัก เช่น แคดเมี่ยม ปรอท และตะกั่ว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสารเคมีที่ต้องเติมเพื่อช่วยในขั้นตอนการผลิต เช่นทำให้หลุดจากแม่พิมพ์ (mold release) ผลิตผลและผลพลอยได้จากขั้นตอนระหว่างการผลิตพลาสติกถูกนำไปใช้ในการผลิต พลาสติกอื่น ๆ หรือการผลิตอุตสาหกรรมชนิดอื่น เช่น สารกำจัดแมลง หรือปุ๋ย ดังนั้นพลาสติกสามารถปนเปื้อนในชีวิตประจำวันได้อย่างง่ายดายทั้งจากอาหาร น้ำ อากาศ ผิวหนัง และสิ่งที่สัมผัสกับพลาสติก โมโนเมอร์และสารเติมแต่งในพลาสติกล้วนแต่ทำให้เกิดพิษต่อร่างกาย เนื่องจากกระบวนการโพลิเมอไรเซชั่นไม่สามารถทำให้เกิดได้สมบูรณ์ 100% ซึ่งพิษต่อร่างการเกิดได้แม้ในความเข้มข้นต่ำ ๆพัฒนาการของพลาสติกเริ่มจากการใช้วัตถุดิบธรรมชาติ เช่น หมากฝรั่ง เชลแล็ค ต่อมามีการปรับปรุงโครงสร้างทางเคมีของวัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ยางธรรมชาติ ไนโตรเซลลูโลส คอลลาเจน จนกระทั่งเกิดการพัฒนาโมเลกุลสังเคราะห์ในที่สุด เช่น พวกสารอีพอกซี่ โพลีไวนิลคลอไรด์ โพลีเอธิลีน ในช่วงคริสศตวรรษ 1990 ได้มีการนำพลาติกกลับมาเวียนทำใหม่ (plastic recycling program) พลาสติกกลุ่ม thermoplastic สามารถนำกลับมาหลอมและใช้ใหม่ได้ ส่วนกลุ่ม thermoset สามารถนำมาบดและใช้เป็น filler ปัจจุบันมีการแบ่งประเภทของผลิตภัณฑ์จากพลาสติกตามชนิดของพลาสติกเพื่อ ประโยชน์ในการเวียนทำใหม่ โดยให้สัญลักษณ์เป็นตัวเลข ดังนี้


PET (PETE) หรือ Polyethylene Terephthalate พลาสติก PET เป็นขวดใสใช้บรรจุน้ำดื่ม น้ำอัดลมขนาด 2 ลิตร ขวดน้ำมันพืช และกระปุกเนยถั่ว

HDPE หรือ High Density Polyethylene เป็นขวดสีขาว ทึบแสง หรือสีทึบอื่น ๆ มักใช้บรรจุน้ำดื่ม นม ยาเม็ด ผงซักล้าง น้ำยาล้างห้องน้ำ แป้งฝุ่น

PVC หรือ Polyvinyl Chloride พลาสติกพีวีซีมักใช้เป็นท่อประปา เฟอร์นิเจอร์ ขวดน้ำ แผ่นฟิล์มถนอมอาหาร ภาชนะบรรจุน้ำสลัดและน้ำยาซักล้าง

LDPE หรือ Low Density Polyethylene มักใช้เป็นถุงซักแห้ง ภาชนะเก็บอาหาร สารเคลือบกระป๋อง

PP หรือ Polypropylene มักใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร อาหารทารก ฝาขวด หลอดดูดน้ำ

PS หรือ Polystyrene มักถูกนำมาใช้ผลิต ถ้วย ชาม ถาดอาหาร ภาชนะบรรจุอาหารกลับบ้าน

Other หมายถึงพลาสติกชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากชนิดที่ 1-6 มักเป็นพวก Polycarbonate ซึ่งใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหาร ทัพเพอร์แวร์ แกลลอนน้ำดื่ม และขวดนัลจีน (nalgene) รวมทั้งใช้ในการเคลือบด้านในของกระป๋องบรรจุอาหาร (metal can linings)

ทั้งนี้ในการเลือกใช้ภาชนะพลาสติกสำหรับการบรรจุ หรือเก็บอาหาร ควรหลีกเลี่ยงพลาสติกที่มีสัญลักษณ์ #3-PVC #6-PS หรือ #7-Polycarbonate และสามารถใช้พลาสติกที่มีสัญลักษณ์เหล่านี้ ได้แก่ #1-PET #2-HDPE #4-LDPE และ #5-PP

ผลต่อสิ่งแวดล้อม

พลาสติกเป็นสารที่คงทน สลายตัวช้ามาก การเผาไหม้ของพลาสติกบางชนิดทำให้เกิดควันพิษในอากาศ โรงงานผลิตพลาสติก มักเป็นแหล่งก่อสารเคมี ที่เป็นมลพิษปริมาณมากในบรรยากาศพลาสติกพีวีซี (#3-PVC) ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในการบรรจุอาหารและของเหลว ของเล่น เครื่องมือก่อสร้าง ท่อประปา และเป็นวัตถุดิบตั้งแต่เครื่องสำอางจนถึงม่านห้องน้ำ จะมีสารเคมีที่เป็นพิษพวกอะดิเพท (adipates) และพะธาเลท (phthalates) อยู่เป็นปริมาณมาก สารเหล่านี้ช่วยให้พีวีซีมีความยืดหยุ่น (plasticizer) และอาจถูกปลดปล่อยออกจากพีวีซีเมื่อมีการสัมผัสกับอาหาร องค์การอนามัยโลกรายงานว่าสารเคมีที่ใช้ในการผลิตพีวีซีเป็นสารก่อมะเร็ง สหภาพยุโรปห้ามการใช้ DEHP (di-2-ethylehexyl phthalate) สำหรับของเล่นเด็ก DEHP ป็น plasticizer ที่นิยมใช้มากที่สุดในการผลิตพีวีซี องค์การอีพีเอ (Environmental Protection Agency) ซึ่งเป็นองค์การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา กำหนดให้โพลีสตัยรีน (#6-PS) เป็นหนึ่งในชีวพิษที่อาจพบในน้ำดื่ม เนื่องจากกระบวนการผลิตโพลีสตัยรีนทำให้เกิดมลพิษในบรรยากาศ และทำลายชั้นโอโซน นอกจากนี้ภาชนะบรรจุอาหารประเภทสตัยโรโฟม อาจปล่อยสารประกอบบางชนิดที่รบกวน การทำงานของฮอร์โมน และอาจก่อให้เกิดมะเร็งด้วย พลาสติกในกลุ่ม #7-other ซึ่งมักหมายถึง โพลีคาร์บอเนท อาจปลดปล่อยบิสฟีนอล-เอ (bisphenol-A, BPA) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการผลิต และจัดเป็นสารรบกวนการทำงานของฮอร์โมน (hormone disrupter) และอาจถูกปลดปล่อยสู่อาหารและเครื่องดื่ม สารชนิดนี้จะมีคุณสมบัติคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน ในงานวิจัยพบว่า BPA ทำให้น้ำหนักของสัตว์ทดลองเพิ่มขึ้น และมีผลต่อระดับฮอร์โมนในเลือด นอกจากนี้ยังพบว่าการได้รับ BPA เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดการต้านอินซูลิน (insulin resistance) ซึ่งนำไปสู่การอักเสบและโรคหัวใจ

พลาสติกที่สลายได้เองตามธรรมชาติ (Biodegradable plastic)

นักวิจัยมีความพยายามที่จะค้นหาพลาสติกที่สามารถสลายได้เมื่อสัมผัสแสง (เช่น รังสียูวี) น้ำ หรือความชื้น แบคทีเรีย เอ็นไซม์ แรงลม (wind abrasion) และถูกกำจัดได้ด้วยสัตว์ประเภทหนู หรือแมลง การสูญสลายของพลาสติกด้วยวิธีเหล่านี้ เรียกว่า biodegradation หรือ environmental degradation ผงแป้งถูกนำมาใช้เป็น filler ในการผลิตพลาสติก ทำให้พลาสติกสลายตัวได้ง่ายขึ้น แต่ไม่เกิดการสลายอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีพลาสติกที่ได้จากการตัดต่อพันธุกรรมของแบคทีเรียเพื่อ สังเคราะห์ biodegradable plastic ที่สมบูรณ์ แต่วัสดุชนิดนี้ยังแพงมากในปัจจุบัน เช่น BP ของ Biopol และ Ecoflex ของ BASF ข้อเสียที่สำคัญของพลาสติกชนิดที่สลายได้เองตามธรรมชาติ คือ เมื่อสลายตัวจะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากอะตอมของคาร์บอนในโมโนเมอร์ของพลาสติก นอกจากนี้ยังอาจเกิดแก๊สมีเทนที่มีอันตรายมากกว่าด้วย

อนาคตของการใช้พลาสติก

ถึงแม้ราคาจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้พลาสติกได้รับการนำมาใช้อย่างแพร่ หลาย แต่ในช่วงที่ผ่านมา ราคาของพลาสติกก็เขยิบสูงขึ้นทีละน้อย อันเนื่องมาจากราคาปิโตรเลียมที่ใช้เป็นวัตถุดิบได้เพิ่มสูงขึ้น และยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในปี ค.ศ.2005 ราคาพลาสติกที่สูงขึ้นทำให้ผู้ผลิตของเล่นบางส่วนต้องปิดกิจการลง

ชนิดและประโยชน์ใช้สอยของพลาสติก

Polyethylene (PE) ใช้ทำถุงพลาสติก ขวดพลาสติกPolypropylene (PP) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร กันชนรถPolystyrene (PS) ใช้ทำโฟมบรรจุอาหาร ถ้วยใช้แล้วทิ้ง กล่องใส่ซีดีและเทปHigh impact polystyrene (HIPS) Acrylonitrile butadiene styrene (ABS) ใช้ทำโครงของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น จอเครื่องพิมพ์ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์Poly (ethylene terephthalate) (PET) ใช้ทำขวดบรรจุน้ำอัดลม แผ่นฟิล์มพลาสติก ภาชนะที่เข้าเครื่องไมโครเวฟPolyester (PES) ใช้ทำไฟเบอร์ ผ้าPolyamides (PA, Nylons) ใช้ทำ ไฟเบอร์ ขนแปรงสีฟัน Polyvinyl chloride (PVC) ใช้ทำท่อน้ำ ม่านกันน้ำ กรอบหน้าต่าง พื้นPolyurethanes (PU) ใช้ทำ เบาะ ฉนวนกันความร้อน โฟม สารเคลือบพื้นผิว Polycarbonate (PC) ใช้ทำแผ่นดิสก์ แว่นตา เลนส์ โล่ หน้าต่างนิรภัย ไฟจราจร Polyvinylidene chloride (PVDC) (Saran) ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารBayblend (PC/ABS) เป็นสารผสมของ PC และ ABS ซึ่งทำให้มีความแข็งแรงกว่าพลาสติกทั่วไป ใช้ทำชิ้นส่วนทั้งภายนอกและภายในของรถ

พลาสติกที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ

Polymethyl methacrylate (PMMA) ใช้ทำคอนแทคเลนส์ แผ่นกระจกอาคาร (glazing) (ในชื่อทางการค้าเช่น Perspex, Oroglas, Plexiglass) ส่วนประกอบของไฟฟลูออเรสเซนส์ ส่วนปิดไฟท้ายรถยนต์Polytetrafluoroethylene (PTFE) (ภายใต้ชื่อการค้า Teflon) ใช้เป็นวัสดุเคลือบที่ทนความร้อน และแรงเสียดทานต่ำ เช่น เคลือบกระทะ สไลเดอร์ เทปพันท่อประปาPolyethyretherketone (PEEK) (Polyketone) เป็นพลาสติกที่แพงที่สุดชนิดหนึ่ง เป็น thermoplastic ที่คงทน ทนความร้อนและสารเคมี ใช้ทำวัสดุทางการแพทย์ต่าง ๆ

ยินดีต้อนรับสู่เส้นทางเถ้าแก่ใหม่ (รวยด้วยขยะ)
เราเป็นผู้ให้บริการปรึกษาการทำธุรกิจรีไซเคิลพลาสติก เพื่อเพิ่มมูลค่าของพลาสติกครบวงจร โดยทางบริษัทฯ นอกจากให้คำปรึกษาด้านนี้แล้ว ทางเรายังมีบริการในส่วนของเครื่องจักรที่เกี่ยวกับพลาสติก อาทิเช่น เครื่องตีถุงพลาสติก เครื่องปอกฉลากขวดเพท เครื่องโม่พลาสติก เครื่องหลอมพลาสติก เครื่องฉีดพลาสติก ฯลฯ ซึ่งเครื่องจักรเหล่านี้มีส่วนช่วยในการเพิ่มราคาของพลาสติกในแต่ละขั้นตอน โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

1. หากท่านเป็นผู้ขายเศษพลาสติกขวดเพท (PET)

ท่านสามารถซื้อเครื่องปอกฉลากขวดเพทจากเราเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน รวมไปเครื่องอัดก้อนของเรา ซึ่งสะดวกในการขนย้ายไปส่งตามโรงงานต่างๆ ทำให้ประหยัดค่าน้ำมัน ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

2. หากท่านเป็นผู้ขายเศษพลาสติกให้แก่โรงหลอมเม็ดพลาสติก

ท่านสามารถซื้อเครื่องโม่พลาสติก เครื่องตีถุงพลาสติก เครื่องล้างถุงพลาสติก ฯลฯ ซึ่งขั้นตอนนี้จะเพิ่มมูลค่าของเศษพลาสติกที่ท่านจำหน่ายให้แก่โรงหลอมเม็ดพลาสติกอย่างน้อยกิโลกรัมละ 3-5 บาท เนื่องจากเศษพลาสติกที่ผ่านการล้าง และบดโม่แล้วนั้น ทางโรงงานรีไซเคิลพลาสติกสามารถนำมาหลอมเป็นเม็ดพลาสติกได้ทันที ทำให้ลดขั้นตอนในการทำงานของโรงหลอมพลาสติก ลองคำนวณดูได้ว่าถ้าสมมติท่านสามารถหาเศษพลาสติกและส่งโรงงานรีไซเคิลพลาสติกได้เดือนละ 50 ตัน ถ้าท่านมีเครื่องจักรที่ช่วยในส่วนของการเพิ่มมูลค่าพลาสติกเหล่านี้ ท่านจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างน้อยเดือนละ 150,000-250,000 บาท ซึ่งตกปีละ 1,800,000-3,000,000 บาท ซึ่งถ้าท่านสามารถหาเศษพลาสติกได้ตามนี้ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ท่านก็จะสามารถคืนทุนค่าเครื่องจักรได้ทั้งหมด

3. หากท่านเป็นโรงโม่พลาสติก โรงงานล้างเศษพลาสติก โรงงานฉีดพลาสติก โรงงานเป่าพลาสติก

ท่านสามารถซื้อเครื่องหลอมเม็ดพลาสติกไปเพิ่มมูลค่าให้แก่เกล็ด หรือเศษพลาสติกของท่านได้อีกอย่างน้อยกิโลกรัมละ 4-6 บาท ซึ่งเครื่องหลอมเม็ดพลาสติกของบริษัทฯ สามารถผลิตเม็ดพลาสติกได้ถึงวันละ 3 ตัน ลองคำนวณดูได้ว่าท่านจะมีรายได้เพิ่มจากที่เป็นอยู่อย่างน้อยเดือนละ =3,000(กิโลกรัม) x 30(วัน) x 4(บาท) = 360,000 หรือปีละ 4,320,000 บาท ซึ่งหากท่านลงทุนซื้อเครื่องหลอมเม็ดพลาสติก ท่านสามารถคืนทุนค่าเครื่องหลอมภายในระยะเวลา 1 ปี และยังมีกำไรเพิ่มขึ้นอีกด้วย

คำค้นหน้านี้
  • มอก 368-2538 (56)
  • มอก 368 (9)
  • มอก368-2538 (7)
  • safety helmet (7)
  • tis 368-2538 (6)
  • มาตรฐาน มอก 368-2538 (5)
  • มาตรฐาน มอก เข็มขัด (4)
  • หมวกนิรภัย มาตรฐาน มอก 368-2538 (4)
  • หมวกยี่ห้อ  (4)
  • safety helmet (3)
  • มอก 368- (3)
  • ม368 (3)
  • หมวกนิรภัย แบบปรับเลื่อน มาตรฐาน มอก 368-2538 ราคา (3)
  • มอก2538 (2)
  • หมวกนิรภัย แบบมีหน้ากาก มอก 368-2538 (2)
  • มอก368 (2)
  • มาตรฐาน มอก 368แว่นตานิรภัย (2)
  • มาตรฐานป้ายเตือน มอก (2)
  • หมวกดับเพลิง มอก 3682538 แถบสะท้อนแสง (2)
  • ราคาหมวกเซฟตี้ยี่ห้อ (2)
  • บรรณานุกรม

    1. Goettlich, P. (2003) Get Plastic Out of Your Diet. [Online URL: http://www.mindfully.org/Plastic/Plasticizers/Out-Of-Diet-PG5nov03.htm] accessed on December 10, 2009.

    2. Wikipedia, the Free Encyclopedia. Plastic. [Online URL: http://en.wikipedia.org/wiki/plastic] accessed on December 10, 2009.

    3 ความคิดเห็น:

    icppremium กล่าวว่า...

    ประกวดราคาหมวก 100000 ใบ
    http://www.dlt.go.th/th/index.php?option=com_content&view=article&id=2545:2011-03-21-10-21-51&catid=35&Itemid=54

    icppremium กล่าวว่า...

    โอกาสดี สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ที่พลาดในการเข้าร่วม
    โครงการ Lean I บัดนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ สมาคม
    ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เปิด โครงการ Lean II ขึ้นแล้ว
    สนใจ สมัครด่วนรับจำนวนจำกัด เพียง 40 โรงงานเท่านั้น
    ตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 กรกฏาคม 2555

    โครงการให้คำปรึกษา Lean Manufacturing I

    ในปี 2551 ส.ส.ท. ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้บริการให้คำปรึกษา Lean Manufacturing
    19 บริษัท สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้มากกว่า 250 ล้านบาท ดังตัวอย่าง 3 บริษัทด้านล่างนี้
    1.บริษัท กรุงเทพผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ จำกัด
    (ลดต้นทุนได้มากกว่า 2.5 ล้านบาท/ปี)
    2.บริษัท โมเดิร์นฟอร์ม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
    (ลดต้นทุนได้มากว่า 2 ล้านบาท/ปี)
    3.บริษัท ราชบุรีอาหารสัตว์ จำกัด
    (ลดต้นทุนได้มากกว่า 5.9 แสนบาท/ปี)

    ท่านรู้จักการผลิตแบบลีนหรือยัง

    หลักการและระบบการผลิตแบบลีน
    (Lean Priciple & Lean Manufacturing)


    ประวัติความเป็นมาระบบการผลิตแบบลีน

    ปี 1990 James P. Womack เขียนหนังสือชื่อ The Machine That Changed The World ซึ่งกล่าวถึงประวัติการผลิตรถยนต์ รวมถึงศึกษาวิเคราะห์โรงงานประกอบรถยนต์ของญี่ปุ่น อเมริกา และยุโรป และเกิดคำว่า “Lean Manufacturing” ขึ้นเป็นครั้งแรก James Womack ได้มีโอกาสศึกษาระบบการผลิตแบบโตโยต้า(TPS) เป็นเวลาหลายปี แล้วสรุปออกมาเป็นสิ่งที่เขาเรียกว่า แนวคิดและการผลิตแบบลีน จึงอาจกล่าวได้ว่า TPS เป็นรากฐานของระบบการผลิตแบบลีน
    เมื่อแนวคิด Lean และระบบการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) เป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในอุตสาหกรรมโลกและในบ้านเรา โรงงานต่างๆ ก็ต้องการเปลี่ยนระบบการผลิตจาก Mass Production สู่ Lean Production หรือ Lean Manufacturing ด้วยเหตุผลต่างๆ กัน คือ
    •ประการแรก ต้องการมีต้นทุนที่ต่ำลง (Cost Reduction) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) หรือรักษาส่วนแบ่งทางการตลาด
    •ประการที่ 2 ต้องการเพิ่มผลิตภาพ (Increased Productivity) เพื่อการจัดส่งที่ดีขึ้นและรักษาหรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด
    •ประการที่ 3 ต้องการลด Lead Time ในการผลิตสินค้า เพื่อการจัดส่งที่ตรงเวลา (On Time Delivery) และเพิ่มความพึงพอใจให้กับลูกค้า (Customer Satisfaction)
    •ประการที่ 4 ต้องการมีระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูงระดับสากล (World Class Manufacturing) เพื่อการแข่งขันได้ และเป็นที่ยอมรับของลูกค้า
    •ประการที่ 5 ลูกค้าให้ทำ จึงจำเป็นต้องทำเพื่อความพึงพอใจของลูกค้า อันจะเป็นที่มาของการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์
    •ประการที่ 6 ลูกค้ามีการประเมินระบบการผลิตแบบ Lean เปรียบเทียบกับผู้จัดส่ง (Supplier) รายอื่นๆ เพื่อพิจารณาผลงานของผู้จัดส่ง อันจะส่งผลต่อการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์
    •ประการที่ 7 บริษัทแม่ซึ่งอยู่ต่างประเทศ มีนโยบายให้ทำ

    ซึ่งไม่ว่าท่านจะเปลี่ยนระบบการผลิตจาก Mass Production สู่ Lean Production ด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม แนว ทางที่ต้องตระเตรียมหรือดำเนินการเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในการนำแนวคิดในการผลิตแบบลีนมาปรับใช้ให้เหมาะกับอุตสาหกรรมของท่าน ซึ่งอาจจะมีแนวทางหรือกลยุทธ์ที่แตกต่างออกไปจากของบริษัทโตโยต้า ซึ่งเป็นต้นแบบของการผลิตแบบลีนก็เป็นไปได้ ความรู้ในการนำเครื่องมือลีนต่างๆ มาปรับใช้เป็นสิ่งสำคัญก็จริง แต่หากปราศจากความรู้ความเข้าใจในปรัชญาการผลิตแบบลีนอย่างแท้จริงแล้ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จก็จะเป็นไปได้ยาก เปรียบ เสมือนที่บางบริษัทที่คิดว่าแนวทางการทำ 5 ส คือการ “ปัด กวาด เช็ด ถู” เท่านั้น ก็จะไม่สามารถรักษา (Sustain) วินัยของพนักงานที่ทำกิจกรรมต่างๆ เหล่านั้นได้ เนื่องจากพนักงานขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ การผลิตแบบลีนก็เช่นเดียวกัน ใช่ว่าการเรียนรู้ในเครื่องมือต่างๆของลีนจะเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จไม่ สิ่งสำคัญกว่านั้นคือการให้ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานของการผลิตแบบลีน ความจำเป็นในการเปลี่ยน แปลงแนวทางในการทำงาน แล้วอธิบายให้เห็นภาพว่าลีนจะช่วยให้บริษัทประสบผลสำเร็จได้อย่างไร รวมถึงการวัดผลงานของพนักงานที่เกี่ยวเนื่องกับตัววัดของลีนต่างหาก ที่เป็นหัวใจหลักของการนำลีนไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ ต้นทุนโดยปกติที่แสดงให้เห็นนั้น มักจะเป็นเพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ในขณะที่ต้นทุนโดยส่วนใหญ่มักจะมองไม่เห็นหรือไม่ได้รับความสนใจ มุมมองของลีน คือ เผยให้เห็นต้นทุนเหล่านั้น เพื่อดำเนินการแก้ไขและขจัดออกไป

    การปรับปรุงกระบวนการผลิตด้วยหลักการของลีน ทำกันอย่างไร

    icppremium กล่าวว่า...

    เป้าหมายของการผลิตแบบลีน (Lean Manufacturing) มุ่งเน้นที่จะกำจัดความสูญเปล่า 8 ประการ (8 Wastes) ที่มักเกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารลูกค้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ การติดต่อกับผู้ผลิต หรือ การบริหารภายในโรงงานเอง ซึ่งการลดความสูญเปล่าเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการลดต้นทุนในการดำเนินการของธุรกิจใดๆ เพื่อสร้างกำไรให้กับองค์ การโดยไม่ส่ง ผลกระทบต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า การดำเนินการเพื่อลดความสูญเปล่านี้จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องฝึกอบรมพนัก งานให้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า กิจกรรมใดเพิ่มคุณค่าให้กับงาน (Value Added) และกิจกรรมใดไม่เพิ่มคุณค่า (Non Value-Added Activities)
    โดยที่กิจกรรมการทำงานต่างๆ ที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
    1.กิจกรรมที่เพิ่มคุณค่า (Value-Added Activities) คือ กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของวัตถุดิบหรือข้อมูลข่าวสาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
    2.กิจกรรมที่ไม่เพิ่มคุณค่า (Non-Value-Added Activities) คือ กิจกรรมใดๆ ก็ตามที่ใช้ทรัพยากรของเราไป เช่น เวลา พนักงาน เครื่องจักร พื้นที่ เป็นต้น แต่ไม่ได้มีส่วนในการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า เราเรียกกิจกรรมประเภทนี้ว่า “ความสูญเปล่า” เพราะลูกค้าจะยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อสิ่งที่ให้คุณค่ากับเขาเท่านั้น แต่จะไม่เต็มใจจ่ายเงินซื้อความสูญเปล่าโดยเด็ดขาด

    ความสูญเปล่าในโรงงาน โดยทั่วไปแล้วมีอยู่ 8 ประการ ดังต่อไปนี้
    1.ผลิตมากเกินไป (Over Production)
    2.มีกระบวนการมากเกินไป (Over Processing)
    3.การขนย้าย (Conveyance)
    4.สินค้าคงคลัง (Inventory)
    5.การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Motion)
    6.การรอคอย (Waiting)
    7.การเกิดของเสียและการแก้ไขชิ้นงานเสีย (Defect & Rework)
    8.ศักยภาพหรือความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานที่ไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ (Underutilized People)

    กิจกรรมหลักของการปรับปรุง
    1.กำหนดคุณค่า (Value) ของผลิตภัณฑ์
    2.เขียนแผนผังคุณค่าของผลิตภัณฑ์หลัก (Value Stream Mapping)
    3.ทำให้การผลิตไหลลื่น (Flow)
    4.สร้างกลไกการดึงงาน (Pull) เพื่อลดการผลิตมากเกินไป
    5.พัฒนาสู่ความสมบูรณ์แบบ (Perfection)
    ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ
    1.มีผลการปรับปรุงเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างน้อย 15% เช่น เพิ่มผลผลิต 15% ลดต้นทุน 15% ลด Breakdown 15% ลด Lead time 15%
    2.กระบวนการผลิตมีความยืดหยุ่น ตอบสนองต่อลูกค้าได้รวดเร็วขึ้น
    3.ต้นทุนการผลิตอยู่ภายใต้การควบคุม
    4.เสริมสร้างและพัฒนาบุคลากรในองค์การ สู่ความเป็นเลิศในการผลิต

    ขอบข่ายการดำเนินการ

    ระยะเวลาการดำเนินโครงการประมาณ 9 เดือน (ธันวาคม 2551 – สิงหาคม 2552) โดยมีจำนวนวันทั้งหมด 15 วัน ตามรายละเอียดดังนี้
    1.ตรวจประเมิน (Lean Assessment) (ที่บริษัท) และจัดทำ Proposal 1 วัน
    2.ฝึกอบรมหลักการของลีน (Lean Manufacturing) 4 วัน (ที่บริษัท)
    3.ให้คำปรึกษาเพื่อการปรับปรุงกระบวนการผลิต (Consulting) 7 วัน (ที่บริษัท)
    4.จัดเสนอผลงาน ภายในบริษัท 1 วัน (ที่บริษัท)
    5.จัดเสนอผลงานรอบคัดเลือก 1 วัน (ที่ ส.ส.ท.)
    6.จัดมหกรรมเสนอผลงาน Lean-Best Practice 1 วัน และแจก Pocket book รวมผลงานดีเด่น (Best Practice) ของแต่ละบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ
    ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการ

    ค่าใช้จ่ายโดยรวมทั้ง 15 วันตลอดโครงการประมาณ 9 เดือน รวมทั้งสิ้น 160,000 บาท (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
    สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สนับสนุน ทั้งหมด
    และบริษัทเสียค่าใช้จ่าย เฉพาะค่าเดินทางและที่พัก

    ขั้นตอนการเข้าร่วมโครงการ
    1.กรอกใบตอบรับส่งมาที่สมาคมฯ ทางโทรสาร
    2.สมาคมฯ จะดำเนินการพิจารณาคัดเลือกบริษัทเข้าร่วมโครงการ
    3.ที่ปรึกษาเข้าทำการ Assessment ที่บริษัท และจัดทำ Proposal เสนอบริษัท
    4.บริษัทเห็นชอบและลงนามในสัญญากับสมาคม
    5.ที่ปรึกษาเข้าดำเนินการโครงการตามแผนงานใน Proposal

    สนใจติดต่อ

    สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
    ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ
    โทรศัพท์ 0-859111464
    คุณ ภูมิ
    satal01@hotmail.com

    .